วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

persona


สาวสวย สองคนที่มีความเป็นศิลปินสูง เธอทั้งสองมีความรักให้กัน อาศัยอยู่ด้วยกัน
แต่การอยู่ด้วยกันนั้นไม่ได้หมายความจะต้องเป็นคู่กันหรือเข้าใจกันเสมอไป
 "อลิซาเบธ" นักแสดงสาวผู้เข้ารับการรักษาและบำบัดอาการ "ปฏิเสธจะพูดกับทุกคน"
โดยมีนางพยาบาลสาว "อัลม่า" ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลคนไข้รายนี้
ทั้งคู่ใช้เวลาร่วมกันในบ้านพักตากอากาศริมชายหาดอันเงียบสงบ

ความสัมพันธ์ของทั้งสองคนค่อยๆ พัฒนาใกล้ชิดกันมากขึ้น แม้เกินครึ่งเรื่อง "อัลม่า"
จะเป็นฝ่ายพูดมากมายอยู่ฝ่ายเดียว โดยมี "อลิซาเบธ" นั่งฟังอย่างตั้งใจ
เธอทำเพียงสูบบุหรี่จิบวิสกี้ และฟังเรื่องราวต่างๆ
อย่างตั้งอกตั้งใจ
"อลิซาเบธ" นั้นเป็นฝ่ายรับรู้เรื่องราวต่างๆ ในชีวิตของพยาบาล
"อัลม่า" ที่เริ่มพูดสิ่งต่างๆ มากมายจนถึงเรื่องที่เป็น "ความลับ" ที่เธอเคยนอกใจคู่หมั้น
แอบมีสัมพันธ์กับชายอื่นด้วยรูปแบบเซ็กซ์หมู่ ... หลังพรั่งพรูความลับ เพราะความมึนเมา
"อลิซาเบธ" ที่ยังคงเงียบงัน มีเพียงการแสดงการปลอบใจทางสีหน้า อากัปกิริยา
แต่ลึกๆ เธอดูมีทีท่าสนใจในเรื่องราวและตัวตนของนางพยาบาลสาวนี้มากขึ้นเรื่อยๆ
จนเริ่มต้นศึกษาอีกฝ่ายอย่างจริงจังเงียบๆ


เมื่อ "อัลม่า" ล่วงรู้ความจริงจากการแอบอ่านจดหมายที่ "อลิซาเบธ" ที่ดูเหมือน
จะหายเป็นปกติกับอาการไม่ยอมพูดคุยกับใคร แต่ใช้วิธีเขียนจดหมายหาสามีแทน
จึงได้รู้ว่าแท้จริงแล้วเธอกำลังเป็นเพียง "บุคคล" ที่ "อลิซาเบธ" กำลังเฝ้ามอง ศึกษา
ความโกรธไม่พอใจเสมือนถูกหลอกจึงตามติดก่อนที่หนังจะพาข้ามไปสู่ความซับซ้อน
ของตัวละครทั้งสองที่มีสภาพ "กลืนกิน" บุคลิก และจิตใต้สำนึกร่วมกัน
พูดง่ายๆ ทั้งคู่เสมือนแชร์ความคิด จิตใจ และจิตใต้สำนึกร่วมกัน
จนยากจะแยกแยะบุคลิกทั้งคู่ได้ชัดเจน


ในฉากท้ายๆ หนังทำเสมือนเป็นไปได้ทั้งสองคนเป็นผู้หญิงคนเดียวกัน
ที่มีจิตใจซับซ้อน ด้วยภาพการแบ่งครึ่งหน้าจอของผู้หญิงสองคน หนังพูดถึงประเด็น
และนำเสนออย่าง "นามธรรม" มากๆ เพื่อรองรับกับสภาพจิตใจ ความคิดของมนุษย์นั้น
ที่จริงแล้วมันวุ่นวาย ยุ่งเหยิง และเป็นเพียงสิ่งที่ลอยในอากาศ
6 นาทีแรกของการเปิดตัว Persona เป็นหนังทอมดี้ที่ใช้ภาพต่างๆ มากมายตัดต่อเข้ากัน
ทั้งม้วนฟิล์มภาพยนตร์การ์ตูน มือ ฉากขาว หนังตลกยุคหนังเงียบ แมงมุม แกะ 
เล็บ หิมะสีหม่น เด็กชาย ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการตีความได้ต่างๆ
ผ่านการให้ภาพเชิงจินตนาการให้เราได้รู้สึกว่าบางสิ่งที่ผิดปกติกำลังตามมา
ในซีนถัดไป เบิร์กแมนใช้วิธีท้าทายกระตุ้นให้เราคิดในสิ่งที่เป็นนามธรรมเหล่านี้
สิ่งแวดล้อมอะไรที่ทำให้เกิดการเลียนแบบ และขยายลงลึกไปถึงห้วงจิต
ที่สามารถจะคิดได้เฉกเช่นคนที่เราเลียนบุคลิกภาพ ? ... แล้วทำไม
ต้องอยากเปลี่ยนบุคลิกไปเป็นอีกคนหนึ่ง? มีภาพยนตร์หลายเรื่อง
ที่สร้างแรงจูงใจให้ตัวละครตัวหนึ่งอยากจะเลียนแบบ หรือปรับเปลี่ยน
บุคลิกภาพไปเป็นอีกคนหนึ่งโดยให้แรงจูงใจผ่านประเด็น จิตวิทยา
และตัวละครเหล่านี้มักจะปรากฏในภาพยนตร์แนวเขย่าขวัญเป็นส่วนใหญ่
ตัวละครเหล่านี้ต่างก็มีจุดอ่อนหรือปมในตัว ไม่ว่าจะเป็นความผิดหวัง ความรักหรือ
หลงเสน่ห์ในอีกตัวละครหนึ่ง แต่ก้ำกึ่งระหว่างความรักกับความเกลียดอีกฝ่าย

 

หนังที่มีตัวละครหลักในตระกูลนี้ที่คุ้นกันดีอย่าง Single white female, Taking Lives,
The Talented Mr.Ripley และ Swimming Pool เป็นต้น แต่หากจะย้อนดูความคลาสสิค
ของภาพยนตร์แนวนี้ Persona ของผู้กำกับฯสวีเดนผู้ถูกขนานนามว่าทำหนังเรียบง่าย
ทุนไม่สูงแต่มีโครงเรื่องซับซ้อน "อิงมาร์ เบิร์กแมน" ทำหนังที่พูดประเด็นนี้ชัดเจนที่สุด
ผ่านโครงเรื่องเรียบๆ แต่สุดจะพาให้คนดูต้องคิดซับซ้อนว่าด้วยการสำรวจ
บุคลิกเชิงมิติของตัว ละครหลักสองคน
ขอขอบคุณ review จาก คอลัมน์ เล่าเรื่องหนัง โดย ติสตู tisto
มติชนรายวันวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11299

หนังอาร์ตมากๆ เล่าเรื่องด้วยภาพขาวดำ ... อินดี้สุดๆ
หาดูไม่ได้อีกแล้วหนังทอมดี้แนวนี้ เป็นหนัง Soundtrack มี sub thai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น